สารจากประธานอาวุโส

สารจากประธานอาวุโส

กลุ่มธุรกิจทั่วโลกได้แสดงศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ในการค้นคว้าวิจัย การประดิษฐ์ หรือต่อยอดงานนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ในการขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ยุค 5.0 เพื่อให้เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นองค์กรที่สามารถเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งในทุกมิติของความยั่งยืน

นายธนินท์ เจียรวนนท์

ประธานอาวุโส

เครือเจริญโภคภัณฑ์

สารจากประธานกรรมการ

สารจากประธานกรรมการ

เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้กำหนดดทิศทางและยุทธศาสตร์การเติบโตสู่ยุคอุตสาหกรรมที่ล้ำหน้า ด้วยการพัฒนาและใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีติจิทัลที่ทันสมัยในการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามแนวทางปฏิบัติของ "ค่านิยมองค์กร 6 ประการ" ที่มุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชนในทุก ๆ ประเทศที่เครือฯ เข้าไปลงทุนด้วย "ความชื่อสัตย์และมีคุณธรรม" อันสร้างความไว้วางใจและประโยชน์ต่อผู้มีส่วนร่วมตลอดห่วงโซ่คุณค่ามากว่าหนึ่งศตวรรษ

นายสุภกิต เจียรวนนท์

ประธานกรรมการ

เครือเจริญโภคภัณฑ์

สารจากประธานคณะผู้บริหาร

สารจากประธานคณะผู้บริหาร

เครือเจริญโภคภัณฑ์ในการก้าวไปข้างหน้าสู่การเป็นผู้นำในด้านความยั่งยืน โดยได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนจาก S&P Global อยู่ในระดับ "Top 5%" ในกลุ่มอุตสาหกรรม Industrial Conglomerates ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 นอกจากนี้ ยังได้รับการประเมินจาก World Benchmarking Alliance ให้ติดอันดับ Top 10 ในด้าน Food and Agriculture, Seafood Stewardship Index และ Nature Benchmarking ความสำเร็จตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำธุรกิจไทยที่พร้อมมุ่งสู่ "องค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืนระดับโลก"

นายศุภชัย เจียรวนนท์

ประธานคณะผู้บริหาร

เครือเจริญโภคภัณฑ์

ภาพรวมของเครือเจริญโภคภัณฑ์

วิสัยทัศน์เครือเจริญโภคภัณฑ์

เราเป็นองค์กรที่เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างอาหารคน อาหารสมอง โอกาสในการเข้าถึงคุณค่าเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน

ภาพรวมของเครือเจริญโภคภัณฑ์

ประเทศและ เขตเศรษฐกิจทั่วโลก
สายธุรกิจหลัก
กลุ่มธุรกิจ

เครือเจริญโภคภัณฑ์มีบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เป็นบริษัทแม่ ซึ่งดำเนินกิจกรรมในลักษณะบริษัท Holding Company ถือหุ้นบริษัทในเครือฯ ทั้งในและต่างประเทศ รวม 21 ประเทศและเขตเศรษฐกิจทั่วโลก

เครือเจริญโภคภัณฑ์มีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย แบ่งออกเป็น 8 สายธุรกิจหลัก และ14 กลุ่มธุรกิจ สายของธุรกิจสามารถแบ่งออกเป็นธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม ธุรกิจอีคอมเมิร์ชและดิจิทัล ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์และอุตสาหกรรม ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ไปจนถึงธุรกิจการเงินและการธนาคาร

ห่วงโซ่คุณค่าของเครือเจริญโภคภัณฑ์

เครือเจริญโกคภัณฑ์มีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย ตั้งแต่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม ธุรกิจอีคอมเมิร์ชและดิจิทัล ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจยานยนต์ และอุตสาหกรรม ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ ไปจนถึงธุรกิจการเงินและการธนาคาร ซึ่งเครือฯ ได้บูรณาการ ประโยชน์ด้านต่าง ๆ จากแต่ละกลุ่มธุรกิจเข้าด้วยกัน เพื่อขยายพลประโยชน์และส่งมอบคุณค่าที่ยั่งยืน ให้แก่ประเทศ ประชาชน และบริษัทสืบไป

8 สายธุรกิจหลัก ครอบคลุม 14 กลุ่มธุรกิจ
กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร
กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร
กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง
กลุ่มธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยและผลิตภัณฑ์อารักขาพืช
กลุ่มธุรกิจยาและเวชภัณฑ์
กลุ่มธุรกิจยานยนต์
กลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์
กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย
กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซและดิจิทัล
กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม
กลุ่มธุรกิจการเงินและการธนาคาร
กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

สรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ

Heart: Living Right

ในปี 2566 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้มีการปรับปรุงกระบวนการและริเริ่มโครงการใหม่ ๆ ในหลายด้าน เช่น การขยายแผนการสื่อสารเรื่องการกำกับดูแลให้ทั่วทั้งเครือฯ และการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น การดำเนินงานเหล่านี้ส่งเสริมให้เครือฯ สามารถคงไว้ซึ่งการเป็นองค์กรที่มีจริยธรรม คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และมุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเท่าเทียม

รายได้รวม
ล้านบาท
+14%
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานทั้งหมด
ล้านบาท
+6%
สัดส่วนพนักงานที่ผ่านการอบรมด้านจรรยาบรรณธุรกิจ
%
0%
สัดส่วนของกลุ่มธุรกิจที่รับได้การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
%
0%
จำนวนภัยคุกคามทางไซเบอร์
กรณี
0%
สัดส่วนของพนักงานหญิงทั้งหมด
%
-0.4%
จำนวนพนักงานที่ได้รับการโปรโมทในสายงานอาชีพ
คน
+37%
จ่านวนคนทั่วโลกที่ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีพ (ทั้งรูปแบบ Online และ Offline)
คน
+6%

Health: Living Well

เครือเจริญโกคภัณฑ์ยังคงให้ความสำคัญต่อการนำนวัตกรรมเข้ามาร่วมใช้ในการผลิตสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มว่าจะได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย พร้อมกับมีความเหมาะสม สำหรับแต่ละช่วงวัย และสามารถเข้าถึงได้โดยทุกคน

จำนวนเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มเปราะบาง และกลุ่มอื่น ๆ ที่ได้รับการส่งเสริมความรู้ ความสามารถและสนับสนุนในด้านต่าง ๆ
ราย
+36%
จ่านวนเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ และผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เสี่ยงที่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย
ราย
+62%
ค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อสินค้าและบริการในท้องถิ่น
ล้านบาท
+35%
จำนวนผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
ผลิตภัณฑ์
+2%
สัดส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการสื่อสารอย่างชัดเจนและโปร่งใส
%
+39%
ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา
ล้านบาท
-2%
จำนวนมื้ออาหารที่มอบให้กับผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็กเยาวชน ผู้ยากไร้ และผู้ที่อยู่ในสถานการณ์เสี่ยง
ล้านมื้อ
+238%

Home: Living Together

ในปี 2566 เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน นอกจากนี้ ยังได้มีการดำเนินงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทุกคน

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ Scope 2
ล้านตันคาร์บอนใดออกไซต์เทียบเท่าต่อปี
-5%
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 3
ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
+0.4%
ปริมาณการลดการใช้พลังงานต่อหน่วยรายได้
กิกะจูลต่อล้านบาท
-14%
สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน
%
+2%
สัดส่วนการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์
%
+4.43%
ปริมาณน้ำที่นำไปใช้ต่อหน่วยรายได้
ลูกบาศก์เมตรต่อล้านบาท
-11%
จำนวนการปลูกต้นไม้เพื่อปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศบนบก
ล้านตัน
+38%

การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนเป็นประจำทุกปี โดยได้รวมผลการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง โอกาส และผลกระทบทางธุรกิจของเครือฯ ที่มีต่อภายนอก และอิทธิผลจากภายนอกที่มีต่อการดำเนินธุรกิจของเครือฯ รวมถึงความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียมาร่วมพิจารณาในกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เครือเจริญโภคภัณฑ์ให้การสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาโดยตลอด ซึ่งไม่เพียงแค่เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่องค์กร และเพื่อให้เครือฯ ยังคงสามารถสนับสนุนต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เต็มประสิทธิภาพ พร้อมกับตอบสนองต่อแน้วโน้มของอุตสาหกรรม และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เครือฯ ได้ทำการจัดอันดับความสำคัญของ SDGs โดยสามารถแบ่งออกเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ และเป้าหมายหลัก

กิจกรรม กลยุทธ์ และเป้าหมายของเครือฯ อันดับความสำคัญ เนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้อง
ห่วงโซ่คุณค่าของเครือฯ กลยุทธ์องค์กร เป้าหมาย
ความยั่งยืน
เครือฯ
SDG 1: ขจัดความยากจน
  • คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม
SDG 2: ขจัดความหิวโหย
  • ความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงโภชนาการ
  • สุขภาพและสุขภาวะที่ดี
SDG 3: การมีความสุขและความเป็นอยู่ที่ดี
  • ความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงโภชนาการ
SDG 4: การศึกษาที่่มีคุณภาพ
  • การศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ
  • การพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคล
SDG 5: ความเท่าเทียมทางเพศ
  • สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
SDG 6: การจัดการน้ำ และสุขาภิบาล
  • การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
SDG 7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
  • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
SDG 8: งานที่มีคุณค่า เศรษฐกิจที่เติบโต
  • สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
  • คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม
SDG 9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
  • การบริหารจัดการนวัตกรรม
SDG 10: ลดความเหลื่อมล้ำ
  • สิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงาน
SDG 11: เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
  • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
SDG 12: การผลิตและการบริโภคที่รับผิดชอบ
  • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
SDG 13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
SDG 14: นิเวศทางทะเลและมหาสมุทร
  • การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
SDG 15: ระบบนิเวศทางบก
  • การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
SDG 16: สันติภาพและสถาบันที่เข้มแข็ง
  • การกำกับดูแลกิจการ
SDG 17: หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูล
ระดับความเชื่อมโยง:
ปานกลาง
สูง
สูงมาก
เป้าหมายที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์
เป้าหมายหลัก
เครือเจริญโภคภัณฑ์ รายงานความยั่งยืน 2566